สนับสนุนผู้เขียน

ถ้าเห็นว่าข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ โปรดร่วมสนับสนุนผู้เขียนหนังสือ โดยโอนเงินไปที่บัญชีธนาคารของผู้เขียนตามแต่กำลังศรัทธา ธนาคารกรุงไทย สาขาจันทบุรี ชื่อบัญชีนายการุณย์ บุญมานุช เลขที่บัญชี 204-1-19139-2

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร?  ดูกรวักกลิ  ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา  ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม.  วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม.

ข้อความข้างต้นนั้น พระพุทธองค์ตรัสต่อพระวักกลิ  ปรากฏอยู่ในวักกลิสูตร  เป็นข้อความที่ผู้สนใจศาสนาน่าจะได้รับรู้กันทุกคน

ภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาบาลีก็ดูง่ายๆ คือ “ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา  ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม

แปลให้เป็นภาษาไทยอีกทีก็คือว่า ใครก็ตามเห็นธรรมะ บุคคลผู้นั้นก็ต้องเห็นพระพุทธเจ้า ถ้าใครเห็นพระพุทธเจ้า บุคคลผู้นั้นก็ต้องเห็นธรรมะ

สิ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ยิ่งกว่าประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิง แล้วเกิดน้ำท่วมวินาศสันตะโรก็คือ มีน้อยคนมากที่จะสามารถอธิบายให้มนุษย์มะนาธรรมดาๆ เข้าใจได้อย่างง่ายๆ

ขอยกตัวอย่างคำถามในเว็บแห่งหนึ่ง คนถามตั้งคำถามขึ้นมาดังนี้ “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต เห็นแบบไหนครับถึงเรียกว่าเห็นธรรม?

คนถามกลัวว่า คนอ่านจะไม่เข้าใจก็เลยขยายความคำถามให้อีกดังนี้

พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ในวักกลิสูตรว่า "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต" แล้วเห็นแบบไหนถึงเรียกว่า เห็นธรรมครับ การเห็นแบบนี้ สามารถสัมผัสได้ด้วย หู ตา จมูก ลิ้น และกาย คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือไม่ แล้วการเห็นธรรมกับการเข้าใจธรรมนี้เป็นความหมายเดียวกันหรือไม่

ปล. ที่บอกว่าสามารถสัมผัสได้ด้วย หู ตา จมูก ลิ้น และกาย คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้นหมายความว่า เห็นอย่างที่มนุษย์ปรกติเรามองเห็น คือ เป็นสสาร มีสถานะ ต้องการที่อยู่ และมีน้ำหนัก คือ เป็นการมองเห็นแบบนิยามตามวิทยาศาสตร์น่ะครับ

มีผู้มาให้คำตอบกันหลายคน ซึ่งก็ตอบแบบตาบอด เป็นใบ้ ปัญญาอ่านคลำช้าง โดยสรุปก็คือ อยากจะตอบ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่เข้าใจ  มีคำตอบหนึ่ง ซึ่งได้รับการลงความเห็นจากเจ้าของคำถามว่าเป็นคำตอบที่ดีที่สุด คือ คำตอบนี้

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ ในวักกลิสูตรที่ว่าไว้ดั่งพระพุทธองค์ดำรัส พระวักกลิ เป็นผู้ที่หลงใหลในรูปลักษณ์ความงดงามของพระองค์มาก จนกระทั่งพระพุทธองค์ต้องขับออกจากสำนักไป เนื่องจากไม่ฝักใฝ่ในธรรมะอย่างแท้จริง

ด้วยความโทมนัสจึงจะไปกระโดดหน้าผาตาย พระพุทธองค์ตามไปพบเทศนาสั่งสอนเรื่อง "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต" เพื่อให้พระวักกลิถ่ายถอน ความยึดมั่นถือมั่นในตัวพระองค์ หันมาน้อมนำในพระธรรมคำสั่งสอนแทน จนสามารถบรรลุธรรมได้ในบัดนั้น..

การเห็นอย่างธรรม คือเห็นให้ลึกและกว้าง เห็นแบบธรรมชาติ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเข้าใจหลักแห่ง ปัจจยตา เมื่อมีสิ่งนั้นย่อมมีสิ่งนี้

การเห็นเช่นนี้ สัมผัสได้ทุกอณูของร่างกาย ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะแบบไหน อริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน มีสติและปํญญาระลึกได้อยู่ตลอด ต้องปฎิบัติเองครับ..ใครกินใครอิ่ม....การเข้าใจธรรมมี 2 นัยยะ

1. เห็นแบบกะพี้....เปลือกนอก..ประเภทพิธีกรรม+อภินิหาร+ลาภสักการะ ไม่มีทางเข้าใจได้....... บัวเกิดมาแต่ตม แต่พอโผล่พ้นน้ำก็ไม่มี ขี้ตม..ติดมาให้เห็น..แปลกแต่จริงนะครับ..การพิจารณาคน..กับบัว 4 เหล่าจึงชาญฉลาดมาก

2. เห็นแบบแก่น เข้าถึงอย่างจริงจัง รู้และเข้าใจหลักของธรรมชาติดีว่า มีความผันแปรไป ไม่มีอะไรเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวครับ

สัมผัสได้แห่งองค์ความรู้ของตนเอง..กาย วาจา ใจ ไม่ใช่ในเชิงนิยามตามหลักวิทยาศาสตร์...ครับ

นี่ขนาดเป็นคำตอบที่ดีที่สุดแล้ว ผมก็ยังเห็นว่า “ไม่ได้เรื่อง” อยู่ดี 

ข้อมูลที่ชัดแจ้ง อ่านแล้วเข้าใจชัดเจน รู้ว่าอะไรเป็นอะไร สามารถปฏิบัติตามได้ เพราะ มีคนปฏิบัติตามแล้วได้ผลปฏิเวธตามที่เขียนไว้ในหนังสือจริงคือ หนังสือที่ชื่อว่า “ผู้เห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ตถาคตคือธรรมกาย”  เล่มนี้

ท่านที่ต้องการรู้รายละเอียด ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ในบล็อก 
ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” 
ได้ ณ บัดนี้เลย...



7 ความคิดเห็น:

  1. ดาบตำรวจอัศวิน28 มีนาคม 2557 เวลา 01:45

    สวัสดีครับ ผมดาบอัศวินครับ

    ตอบลบ
  2. อาการเป็นอย่างไรบ้าง วิธีการฝึกที่แนะนำไป เป็นอย่างไรบ้าง

    ตอบลบ
  3. รายงานผลการฝึกที่ท่าน ดร.แนะนำ ฝึกแรกๆนั่งได้ไม่ค่อยนาน หลงบ่อย(จิตส่งออกนอก)ไม่ค่อยสงบ นั่งได้ไม่เกิน 30 นาที
    ตอนนี้ เริ่มดีบ้างแล้ว กำหนดอย่างที่แนะนำได้ เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง บางครั้งเห็นใสได้แว้วเดียว ยังไม่ค่อยสงบ จะพยายามทำอย่างต่อเนื่อง (วันหนึ่งผมทำอย่างน้อย 4 ครั้ง ครั้งละ 1 ชม.)

    ตอบลบ
  4. ให้จำว่า "อารมณ์ ความรู้สึก บรรยากาศ" ช่วงที่เห็นดวงนั้นเป็นอย่างไร

    แล้วทำให้ได้ตามนั้น

    ในการปฏิบัตินั้น ในช่วงยังไม่ปฏิบัติก็ค่อย "นึก" อยู่เรื่อยๆ คือ ไม่ใช่ว่า ในตอนไม่ปฏิบัติ ก็เอาใจไปเรื่องอื่นๆ อย่างสุดกู่

    ปล่อยใจไปเรื่อย

    ควร "นึก" ถึงฐานที่ 7 บ่อยๆ ว่างก็นึก ว่างก็นึก ถ้าทำอย่างนี้ได้ ใจจะหยุดได้เร็ว

    ใจหยุดได้ ก็เห็นดวง ถึงแม้จะไม่นึกถึงดวงเลยก็ตาม

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณมากครับ..ท่านดร. ผมจะปฏิบัติตามคำแนะนำ จะ "นึก" ถึงฐานที่ 7 ให้ได้ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน จะนึกให้ได้

    ตอบลบ
  6. เวลานึก อย่าไปนึกแรง ทำเป็นแบบชำเลืองๆ คือ นึกเบาๆ

    ให้พอรู้ว่า ฐานที่ 7 อยู่ตรงนี้ อย่าไปบังคับให้เห็น หรือบังคับใจให้ระลึกถึงฐานที่ 7

    ว่างๆ ก็นึก อ้อ... ฐานที่ 7 อยู่ตรงนี้ ว่างๆ ก็นึก ทำนองนั้น

    ตอบลบ
  7. ครับผมเข้าใจแล้วครับ ขอนำไปปฏิบัติเลย ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ